Header Image
ข้อมูลทั่วไปจังหวัด
watermark

คำขวัญจังหวัดเชียงราย
"เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน

ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง"

 

จังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่ภาคเหนือของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯ 785 ก.ม. มีเนื้อที่ประมาณ 11,678.369 ตร.ก.ม. หรือประมาณ 7,298,981 ไร่มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

       

ทิศ พื้นที่ติดต่อ
ทิศเหนือ ประเทศสหภาพพม่า และประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศใต้ จังหวัดลำปาง และจังหวัดพะเยา
ทิศตะวันออก ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และจังหวัดพะเยา
ทิศตะวันตก ประเทศสหภาพพม่า และจังหวัดเชียงใหม่

มีอำเภอจำนวนทั้งหมด 18 อำเภอ ดังนี้

ชื่ออำเภอ ระยะทางจากอำเภอเมือง ชื่ออำเภอ ระยะทางจากอำเภอเมือง
อ.เมืองเชียงราย อ.แม่สาย 63 กม.
อ.เชียงของ 145 กม. อ.แม่สรวย 62 กม.
อ.เวียงป่าเป้า 91 กม. อ.พญาเม็งราย 48 กม.
อ.เทิง 64 กม. อ.เวียงแก่น 150 กม.
อ.ป่าแดด 52 กม. อ.ขุนตาล 63 กม.
อ.พาน 47 กม. อ.แม่ฟ้าหลวง 65 กม.
อ.เวียงชัย 12 กม. อ.แม่ลาว 19 กม.
อ.แม่จัน 28 กม. อ.เวียงเชียงรุ้ง 45 กม.
อ.เชียงแสน 60 กม. อ.ดอยหลวง 40 กม


ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดเชียงราย

คำขวัญจังหวัดเชียงราย
"เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน

ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง"

ตราประจำจังหวัดเชียงราย


 

        จังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่ภาคเหนือของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯ 785 ก.ม. มีเนื้อที่ประมาณ 11,678.369 ตร.ก.ม. หรือประมาณ 7,298,981 ไร่มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

       

ทิศ พื้นที่ติดต่อ
ทิศเหนือ ประเทศสหภาพพม่า และประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศใต้ จังหวัดลำปาง และจังหวัดพะเยา
ทิศตะวันออก ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และจังหวัดพะเยา
ทิศตะวันตก ประเทศสหภาพพม่า และจังหวัดเชียงใหม่

มีอำเภอจำนวนทั้งหมด 18 อำเภอ ดังนี้

ชื่ออำเภอ ระยะทางจากอำเภอเมือง ชื่ออำเภอ ระยะทางจากอำเภอเมือง
อ.เมืองเชียงราย อ.แม่สาย 63 กม.
อ.เชียงของ 145 กม. อ.แม่สรวย 62 กม.
อ.เวียงป่าเป้า 91 กม. อ.พญาเม็งราย 48 กม.
อ.เทิง 64 กม. อ.เวียงแก่น 150 กม.
อ.ป่าแดด 52 กม. อ.ขุนตาล 63 กม.
อ.พาน 47 กม. อ.แม่ฟ้าหลวง 65 กม.
อ.เวียงชัย 12 กม. อ.แม่ลาว 19 กม.
อ.แม่จัน 28 กม. อ.เวียงเชียงรุ้ง 45 กม.
อ.เชียงแสน 60 กม. อ.ดอยหลวง 40 กม


ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงราย

ดอกไม้ดอกพวงแสด


ชื่อ : ดอกไม้ดอกพวงแสด
ชื่อ วิทยาศาสตร์ : Pyrostegia Venusta (ker) Miers
วงศ์ : Bignonia Ceae
ลักษณะชนิดพันธุ์ไม้ : ไม้เลื้อยต่างประเทศ
ชื่ออื่น ๆ : Orange trumpet, Flane Flower, Fire – Cracder Vine

กาสะลองคำ


ชื่อพันธุ์ไม้ กาสะลองคำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Radermachera ignea (Kurz) Steenis
วงค์ Dignoniaceae
ชื่ออื่น ๆ ปีบทอง, แคเป๊าะ, สำเภาหลามต้น, สะเภา,
อ้อยช้าง, จางจืด


ประวัติความเป็นมาของต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงราย

ต้นกาสะลองคำ เป็นต้นไม้ที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในพิธีเปิดโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 วันที่ 9 พฤษภาคม 2537 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์


ความเป็นมาของตุงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ซึ่งนับว่าเป็นวาระอันมงคลยิ่ง พสกนิกรชาวเชียงรายทุกหมู่เหล่าและเผ่าพันธุ์ได้รวมใจกันเฉลิมพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดีสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันหาที่สุดมิได้ ต่อพสกนิกรชาวเชียงรายและชาวไทย จึงพร้อมใจกันจัดสร้างตุงทองคำเพื่อน้อมเกล้าน้อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวน ๒ ตุง และตุงหลวงจำนวน ๑ ตุง เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสจังหวัดเชียงรายสถาปนาได้ ๗๓๗ ปี ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมโครงการเฉลิมพระเกียรติของกระทรวงมหาดไทย ภายใต้การนำของนายวิจารณ์ ไชยนันทน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายในสมัยนั้น ได้รับความร่วมมือร่วมใจ จากประชาชนชาวเชียงรายทุกหมู่เหล่า เผ่าพันธุ์ เป็นอย่างดียิ่ง ซึ่งตุงผืนที่ ๑ ออกแบบโดย นายถวัลย์ ดัชนี ผืนที่ ๒ ออกแบบโดย นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ตุงหลวง ออกแบบโดย นายกนก วิศวกุล ผู้ออกแบบได้ศึกษาและผสานความคิดสอดคล้องกันกับชาวเชียงรายผนวกกับความจงรักภักดี จังมีความหมายและเกิดรูปแบบดังต่อไปนี้

เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ซึ่งนับว่าเป็นวาระอันมงคลยิ่ง พสกนิกรชาวเชียงรายทุกหมู่เหล่าและเผ่าพันธุ์ได้รวมใจกันเฉลิมพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดีสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันหาที่สุดมิได้ ต่อพสกนิกรชาวเชียงรายและชาวไทย จึงพร้อมใจกันจัดสร้างตุงทองคำเพื่อน้อมเกล้าน้อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวน ๒ ตุง และตุงหลวงจำนวน ๑ ตุง เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสจังหวัดเชียงรายสถาปนาได้ ๗๓๗ ปี ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมโครงการเฉลิมพระเกียรติของกระทรวงมหาดไทย ภายใต้การนำของนายวิจารณ์ ไชยนันทน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายในสมัยนั้น ได้รับความร่วมมือร่วมใจ จากประชาชนชาวเชียงรายทุกหมู่เหล่า เผ่าพันธุ์ เป็นอย่างดียิ่ง ซึ่งตุงผืนที่ ๑ ออกแบบโดย นายถวัลย์ ดัชนี ผืนที่ ๒ ออกแบบโดย นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ตุงหลวง ออกแบบโดย นายกนก วิศวกุล ผู้ออกแบบได้ศึกษาและผสานความคิดสอดคล้องกันกับชาวเชียงรายผนวกกับความจงรักภักดี จังมีความหมายและเกิดรูปแบบดังต่อไปนี้

ตุงผืนที่ ๑
ออกแบบโดย นายถวัลย์ ดัชนี

รูปแบบตุง มีลักษณะเป็น จลนะภาพ คือการแสดงออกถึงพลังแห่งการเคลื่อนไหว อิสระเบ่งบานในการรังสรรค์ที่มิได้ยึดรูปแบบดั้งเดิม หากแต่ยังไว้ซึ่งศักยภาพในด้านเนื้อหา ปรัชญาศรัทธา และสัญลักษณ์อันเปี่ยมด้วยความหมายของกษัตริย์แห่งจักรีวงศ์ โดยใช้รูปแบบของนารายณ์ทรงครุฑ อันเป็นพระราชลัญจกรของรามาวตาร พระวิษณุอวตารลงมาเป็นพระราม รูปพระนารายณ์สี่กรทรงตรี คธา จักร และสังข์ ประทับยืนบนครุฑ ช้างเอราวัณสามเศียร หมายถึง สวรรค์ชั้นดุสิต ที่สถิตของพระอินทร์ และพระธาตุเกษแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ อยู่บนฐานปัทม์ ดอกบัวเสี้ยงเดือนรูปปิ่นพระศิวะ และกระต่ายแทนปีพระราชสมภพ และเป็นสัญลักษณ์ของ ศศิธรประภามณฑลของพระอิศวร ตามปกิรนัมตรีมูรติ จิตรกรแทนหกรอบพระชันษา โดยใช้ชื่อสัตว์หิมพานต์ทั้งหก อันมีช้างเอราวัณ ครุฑ นาค นรสิงห์ คชสีห์ และกระต่าย นับได้ว่าเป็นงานรังสฤษฎ์ที่สมบูรณ์ด้วยรูปแบบ เปี่ยมด้วยความหมาย ทรงพลังและเข้มขลังด้วยศรัทธาความรัก

ตุงผืนที่ ๒
ออกแบบโดย อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์

เป็นตุงแห่งความจงรักภักดีของชาวเชียงรายและปวงประชาไทย น้อมเกล้าถวายบูชาองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แสดงออกด้วยรูปแบบที่บ่งบอกถึง “จากแผ่นดิน – สู่แผ่นฟ้า” ดิน หมายถึง รูปทรงล่างสุดของตุง ที่มีสัญลักษณ์รูปช่างอันเป็นตราประจำจังหวัดเชียงรายโอบอุ้มขึ้นไปสู่รูปทรงที่ปรากฏเป็นภาพประชาชนชาวเชียงรายถวายเครื่องสูง เพื่อน้อมถวายสักการะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในบรรยากาศของขุนเขาดอยนางนอน และองค์พระธาตุดอยตุง เหนือจากดอยตุงเป็นภาพพญาครุฑ อันเป็นพาหนะของพระนารายณ์ ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ขององค์พระมหากษัตริย์ หลังของพญาครุฑเป็นรัศมีที่โอบอุ้มมี ๑๐ องค์ หมายถึง การปกครองด้วยทศพิธราชธรรม เหนือพญาครุฑเป็นภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ มีเปลวกนกที่หมายถึงพระเมตตา รองรับพญานาค ซึ่งหมายถึงพระบารมีที่ปกป้องไพร่ฟ้าประชาชน ดอกบัว และแสดงถึงทรงเป็นนักปฎิบัติธรรมแตกฉานในพระธรรมอย่างลึกซึ้ง บนสุดเป็นตราสัญลักษณ์ 6 รอบ ล้อมด้วยเปลวกนกที่โพยพุ่งไปสู่ความสว่าง คือ พระนิพพาน

ตุงผืนที่ ๓
ออกแบบโดย นายกนก วิศวะกุล

ภาพโดยรวมของตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติฯ แสดงออกถึงพลังแห่งความสงบนิ่งและมั่นคงพลังแห่งความจงรักภักดี พลังแห่งความเคารพศรัทธายิ่ง ของเหล่าพสกนิกรชาวไทย ที่น้อมเกล้าฯ ถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องจากตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติฯ นี้ จะได้จัดสร้างไว้ที่จังหวัดเชียงรายในโอกาสข้างหน้า เพื่อร่วมฉลองเมืองเชียงรายที่สถาปนามาได้ ๗๓๗ ปี ดังนั้น รูปแบบด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม จึงต้องคำนึงถึงหลักภูมิทัศน์ที่มีความสอดคล้องกลมกลืนอย่างสงบ มั่นคงและสง่างาม

 

ภูมิศาสตร์

ที่ตั้ง

จังหวัดเชียงรายตั้งอยู่เหนือสุดของประเทศไทย อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 19 องศาเหนือ ถึง 20 องศา 30 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 15 ลิปดา ถึง 100 องศา 45 ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร824 กิโลเมตร

ภูมิประเทศ

จังหวัดเชียงรายมีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงในทวีปตอนเหนือ (North Continental Highland) มีพื้นที่ราบสูงเป็นหย่อม ๆ ในเขตอำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า และอำเภอเชียงของ บริเวณเทือกเขาจะมีความสูงประมาณ 1,500-2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล โดยมีดอยลังกาหลวง เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในจังหวัด มีความสูง 2,031 เมตร[4]บริเวณส่วนที่ราบตามลุ่มแม่น้ำสำคัญในตอนกลางของพื้นที่ ได้แก่ อำเภอพาน อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่จัน อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ มีความสูงประมาณ 410-580 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ตั้งอยู่เหนือสุดของประเทศไทย อาณาเขตของจังหวัดทางทิศเหนือติดกับแคว้นเมืองสาด และ แคว้นท่าขี้เหล็ก ของ รัฐฉาน ประเทศพม่า และ แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว ทิศตะวันออกติดกับแขวงอุดมไซ ประเทศลาวทิศใต้ติดกับ อำเภอแม่ใจ อำเภอภูกามยาว อำเภอดอกคำใต้ อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ และ อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา อำเภอเมืองปาน และ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ทิศตะวันตกติดกับ อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอพร้าว อำเภอไชยปราการ อำเภอฝาง และ อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ และแคว้นเมืองสาด ของ รัฐฉาน ประเทศพม่า มีชายแดนติดกับประเทศพม่ายาว ประมาณ 130 กิโลเมตร และมีชายแดนติดต่อกับลาวประมาณ 180 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 11,680 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,290,000 ไร่

ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง มีป่าไม้ปกคลุม บริเวณเทือกเขามีชั้นความสูง 1,500-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีที่ราบเป็นหย่อม ๆ ในระหว่างหุบเขา และตามลุ่มน้ำสำคัญ จังหวัดเชียงรายมีภูเขาล้อมรอบโดยเฉพาะทางทิศตะวันตกเป็นแนวเทือกเขาผีปันน้ำ ติดต่อกันไปเป็นพืดตลอดเขตจังหวัด

ภูมิอากาศ

จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 24 องศาเซลเซียส ฤดูร้อน เริ่มจากกลางเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม มีอุณหภูมิประมาณ 37 องศาเซลเซียส ฤดูฝน เริ่มจากกลางเดือนพฤษภาคม-กลางเดือนตุลาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 1,768 มิลลิเมตร มากที่สุดในปี 2544 จำนวน 2,287.60 มิลลิเมตรน้อยที่สุดในปี 2546 จำนวน 1,404.10 มิลลิเมตร จำนวนวันที่มีฝนตกเฉลี่ย 143 วันต่อปี ฤดูหนาว (พฤศจิกันยายน – กุมภาพันธ์) จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 15.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 8.0 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2544 สภาพอากาศของจังหวัดเชียงราย ถือว่าหนาวจัดในพื้นที่ราบ อุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ที่ 8-9 องศาเซลเซียส ส่วนบนยอดดอย อุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ที่ 0-5 องศาเซลเซียส จึงทำให้อากาศที่เชียงรายในช่วงฤดูหนาว เป็นพื้นที่ๆ นักท่องเที่ยวอยากมาเป็นอย่างยิ่ง

ทรัพยากร

ทรัพยากรป่าไม้

พื้นที่จังหวัดเชียงรายมีทั้งสิ้น 11.678.369 ตารางกิโลเมตร หรือ 7,298,981 ไร่

ในปี 2542 มีพื้นที่ป่าไม้จำนวน 2,365,967 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 32.42 ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ป่าไม้แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้

อุทยานแห่งชาติ

    

 

วนอุทยาน

วนอุทยาน (Forest Park) เป็นแหล่งธรรมชาติที่รัฐจัดไว้ให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ของประชาชน และสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด จังหวัดเชียงรายมีวนอุทยานจำนวน 27 แห่ง

 รายชื่อวนอุทยานในจังหวัดเชียงราย

                          

 

สวนรุกชาติ (Arboretum) จังหวัดเชียงรายมีสวนรุกชาติ พฤศจิกายนแห่งเดียว คือ สวนรุกชาติโป่งสลี เทศบาลตำบลสันทราย อำเภอเมืองเชียงราย มีพื้นที่ 668.75 ไร่ พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้สักขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นป่าเดิมที่เหลืออยู่และมีการปลูกต้นไม้อื่น ๆ แทรกบ้าง

ป่าสงวนแห่งชาติ (National Reserved Forest) จังหวัดเชียงรายมีป่าสงวนทั้งหมด 30 แห่ง

มีพื้นที่รวม 4,485,966 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 61.46 ของพื้นที่จังหวัด แบ่งเป็นพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ จำนวน 3,525,896 ไร่ พื้นที่มอบ สปก. จำนวน 960,070 ไร่ แยกออกเป็นพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ 513,683 ไร่ ป่าเพื่อการเกษตร 425,832 ไร่ และพื้นที่กันคืนกรมป่าไม้ 20,555 ไร่

ป่าชุมชน (Community Forest) ป่าชุมชนเป็นป่าธรรมชาติที่ชาวบ้านได้ช่วยกันป้องกันรักษาเอาไว้สำหรับเป็นแหล่งซับน้ำและใช้สอย ปัจจุบันมีการสร้างป่าชุมชนขึ้นในพื้นที่สาธารณะ เพื่อใช้ประโยชน์ของชุมชน

เขตห้ามล่าสัตว์ป่า มีจำนวน 1 แห่ง คือ พื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย อำเภอเชียงแสน มีพื้นที่ 2,711 ไร่

 

ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งแร่

  

ในเขตอำเภอพญาเม็งราย แต่ไม่มีการผลิต

 

ยังคงมีการผลิตบอลเคลย์จากเหมืองเพฤศจิกายนแห่งเดียว

 

ทรัพยากรน้ำ

แม่น้ำโขง/สามเหลี่ยมทองคำ

       

  • แม่น้ำกก มีต้นกำเนิดในประเทศพม่า ไหลเข้าสู่ประเทศไทยในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ไหลผ่านอำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเวียงชัย อำเภอแม่จัน อำเภอดอยหลวง อำเภอเชียงแสน แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำโขงที่หมู่ที่ 7 บ้านสบกก ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน มีความยาวประมาณ 145 กิโลเมตร
  • แม่น้ำลาว ต้นกำเนิดจากภูเขาในเขตอำเภอเวียงป่าเป้า แล้วไหลผ่านอำเภอแม่สรวย อำเภอพาน อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเวียงชัย ไปบรรจบกับ แม่น้ำกกที่อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย มีความยาวประมาณ 137 กิโลเมตร
  • แม่น้ำอิง ต้นน้ำเกิดจากหนองเล็งทรายก่อนเข้ากว๊านพะเยา ไหลผ่านอำเภอเทิง แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงของ ส่วนที่ไหลผ่าน จังหวัดเชียงราย ยาวประมาณ 136 กิโลเมตร
  • แม่น้ำจัน ต้นน้ำเกิดจากภูเขาสามเส้า ทางด้านทิศตะวันตกของอำเภอแม่จันติดกับรัฐฉาน (ประเทศพม่า) แล้วไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับแม่น้ำคำไหลไปบรรจบแม่น้ำโขง มีความยาวประมาณ 100 กิโลเมตร
  • แม่น้ำโขง มีต้นกำเนิดจากภูเขาหิมาลัย ไหลเข้าสู่ประเทศไทยที่หมู่ที่ 1 บ้านสบรวก ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย แล้วไหลผ่านอำเภอเชียงของ และอำเภอเวียงแก่น รวมความยาวที่ผ่านจังหวัดเชียงราย ประมาณ 94 กิโลเมตร
  • แม่น้ำคำ ต้นน้ำเกิดจากภูเขาในเขตอำเภอแม่ฟ้าหลวง แล้วไหลผ่านอำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน อำเภอแม่สาย แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำโขงที่หมู่ที่ 5 บ้านสิงหาคม ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีความยาวทั้งสิ้น ประมาณ 85 กิโลเมตร
  • แม่น้ำสาย ใช้เป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า ในเขตจังหวัดเชียงราย เป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ ประมาณ 31 กิโลเมตรมีน้ำไหลตลอดปี
  • แม่น้ำรวก ต้นน้ำเกิดในประเทศพม่า ไหลเข้าสู่ประเทศไทยที่ อำเภอแม่สาย และอำเภอเชียงแสน แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำโขงที่หมู่ที่ 1 บ้านสบรวก ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ใช้เป็นเส้นแบ่งเขตแดน ระหว่างประเทศไทย และประเทศพม่า

 

ประชากร

ประชากรในเขตจังหวัดเชียงราย แบ่งออกได้เป็น กลุ่ม คือ

คนไทยพื้นราบ

ประกอบด้วยคนเมือง คนไทย ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ ดังนี้

 

  • คนเมือง เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดในอดีตเรียกว่า *ไทยยวน*ไทยวนนอกล้านนา*อำเภอเสาไห้ *จังหวัดสระบุรี *ตำบลคูบัว *จังหวัดราชบุรี *บางขุนพรหม ผู้ชายจะมีรูปร่างโปร่งบางกว่าคนไทยภาคกลางเล็กน้อย ผู้หญิงมีรูปร่างผิวพรรณและหน้าตางดงาม มีภาษาพูดแตกต่างไปจากไทยภาคกลางเล็กน้อย มีตัวหนังสือเฉพาะของตนเอง การแต่งกายพื้นเมือง ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่นยาวเกือบถึงตาตุ่ม ใส่เสื้อแขนกระบอก ห่มสไบ เกล้าผมทัดดอกไม้ ชายนิยมนุ่งกางเกงขายาว ใส่เสื้อคอกลมแขนสั้นสีครามเข้ม มีผ้าขาวม้าคาดเอว บ้านเรือนยกใต้ถุนสูง หน้าจั่วหลังคามีไม้ไขว้กันประดับด้วยลวดลาย เรียกว่ากาแล เครื่องดนตรีที่สำคัญได้แก่ เปี๊ยะ สะล้อ ซึง ปี่ แน กลอง นาฏศิลป์พื้นบ้านมีการฟ้อนเมือง ฟ้อนม่าน ฟ้อนเงี้ยว ประเพณีที่สำคัญคล้ายไทยภาคกลาง มีบางส่วนที่แตกต่างกันออกไปเช่นปอยหลวง เรียกขวัญ สืบชะตาเป็นต้น
  • ไทลื้อ,ไทเขิน,ไทใหญ่ เป็นกลุ่มชนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง และทางตอนใต้ของจีน  
    • ไทลื้อเป็นชนกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ตอนกลางและตอนบนตั้งแต่แขวงไชยบุรี ประเทศลาวขึ้นไป
    • ไทยเขิน มีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำขิ่นในรัฐฉาน จึงได้ชื่อว่าไทขีน ได้เข้ามาอยู่ในจังหวัดเชียงราย ในเขตอำเภอเมือง ฯ อำเภอแม่สาย และอำเภอเชียงแสน
    • ไทใหญ่ เรียกตนเองว่าไต ถูกคนเมืองเรียกว่า เงี้ยว และพม่าเรียกว่าฉาน ซึ่งแปลว่าคนภูเขา ผู้ชายรูปร่างสูงใหญ่กว่าคนไทยทั่วไป รูปร่างสูงโปร่งแข็งแรง มือเท้าเล็ก ผู้หญิงมีรูปร่างหน้าตาสวยงาม ผิวเนียนกว่าผู้หญิงพม่าเล็กน้อย หน้าตาเฉลียวฉลาด มีภาษาพูดแตกต่างไปจากคนเมือง และคนไทยภาคกลางเล็กน้อย มีตัวหนังสือของตนเอง การแต่งกายพื้นบ้าน ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่นยาวเกือบถึงตาตุ่ม ใส่เสื้อแขนกระบอกเข้ารูป เกล้าผมมวยโพกศีรษะด้วยผ้า เจาะหูใส่ตุ้มหู ผู้ชายใส่เสื้อแบบจีน นุ่งกางเกงขายาว และเกล้าผมมวย สวมหมวกปีกกว้าง เจาะหูใส่ตุ้ม บ้านเรือนยกใต้ถุนสูง มีไม้แกะสลักประดับ เครื่องดนตรีสำคัญได้แก่ ฆ้อง กลอง ฉาบ นาฏศิลป์พื้นบ้านมีเต้นโต ฟ้อนนก ประเพณีสำคัญคล้ายคนไทยทั่วไป

เชียงรายมีประชากรหลายเชื้อชาติ ทั้งชาวไทยพื้นราบ ชาวไทยภูเขา และชาวจีนฮ่อที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่บนดอยสูง แต่ละชนชาติจะมีประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์ เป็นเสน่ห์ห์อีกอย่างที่ทำให้เชียงรายได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

 

ชาวไทยภูเขา

ประกอบด้วย อีก้อ มูเซอ เย้า กะเหรี่ยง ลีซอ ม้ง

ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า

หมายถึง บุลคลหลายสัญชาติที่อพยพมาจากพม่าเข้าอยู่ในประเทศไทยก่อนวันที่ 9 มีนาคม 2519 การออกนอกเขตจังหวัดที่อยู่อาศัยต้องขออนุญาตจากปลัดกระทรวงมหาดไทย

 

ชาวลาวอพยพ

หมายถึง คนลาวที่อาศัยอยู่กับญาติพี่น้องตามแนวชายแดนของประเทศไทย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองของลาวในปี พ.ศ. 2517 ขณะนี้ทางการของไทยยังไม่อนุญาตให้เดินทางออกนอกเขตจังหวัดที่อยู่อาศัย

 

ชาวจีน

ชนกลุ่มน้อยซึ่งสืบเชื้อสายจีน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นอดีตทหารพรรคก๊กมินตั๋ง ได้มาตั้งรกรากในพื้นที่ ที่มีความโดดเด่นได้แก่ หมู่บ้านสันติคีรี

 

 

 

การศึกษา

สถาบันอุดมศึกษา

                      

สถาบันอาชีวศึกษา

            

 

 

ภาษา

 

  • ภาษาพูด ใช้พูดจากันเรียกว่า อู้คำเมือง สำเนียงพูดของชาวเชียงรายไม่เหมือนกับจังหวัดอื่น ๆ ในภาคเหนือ คือไม่เนิบนาบ และไม่ห้วนจนเกินไป[ต้องการอ้างอิง] เป็นสำเนียงที่หล่อหลอมขึ้นมาใหม่ เนื่องจากเชียงรายเคยเป็นเมืองร้างผู้คนนานเกือบร้อยปี ได้มีการฟื้นฟูบ้านเมืองขึ้นมาใหม่เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2384 โดยได้เกณฑ์ราษฎรจากเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และชนเผ่าไตใหญ่ ไตลื้อ ไตยอง และไตขืน (เขิน) ซึ่งอพยพจากเชียงตุง และสิบสองปันนา รวมทั้งชาวลาวจากประเทศลาว ได้เข้ามาอาศัยอยู่รวมกัน ดังนั้นสำเนียงพูดของชาวเชียงรายจึงมีความหลากหลายทางสำเนียงในพื้นที่ต่าง ๆ แต่ภาษาหลักของเชียงรายจะอยู่ที่อำเภอเมือง อำเภอเชียงแสน อำเภอแม่จัน อำเภอแม่สาย อำเภอเวียงชัย และอำเภอพาน
  • ภาษาเขียน เชียงรายก็เช่นเดียวกันกับจังหวัดทางภาคเหนืออื่น ๆ คือมีภาษาเขียนที่เรียกว่าอักขระล้านนา หรือตัวเมือง อักษรล้านนามีวิวัฒนาการมาจากอักษรพราหมีของอินเดีย มีการจัดระบบของหลักภาษาคล้ายกับภาษาบาลี อักษรล้านนามีรูปทรงกลมป้อมคล้ายอักษรพม่าและมอญ แต่หลักการทางภาษาไม่เหมือนกัน จากหลักฐานในศิลาจารึกวัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ แสดงให้เห็นว่ารูปทรงของอักษรล้านนามีรูปทรงเป็นตัวเหลี่ยมมาก่อ

การคมนาคม

การคมนาคมจากกรุงเทพมหานครไปยังจังหวัดเชียงราย กระทำได้โดยการโดยสารรถไฟสายเหนือลงที่สถานีรถไฟนครลำปางเป็นระยะทางหกร้อยสี่สิบสองกิโลเมตร แล้วเดินทางต่อไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงตัวเมืองเป็นระยะทางอีกสองร้อยสามสิบสี่กิโลเมตร รวมเป็นแปดร้อยเจ็ดสิบหกกิโลเมตร หรือจะโดยสารรถทั่วไปจากกรุงเทพมหานครตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ถึงตัวเมืองเป็นระยะทางแปดร้อยสี่สิบกิโลเมตร

การเดินทางไปจังหวัดเชียงรายโดยรถยนต์และรถทัวร์ (โดยสารประจำทาง) 

สามารถเดินทางได้ 3 เส้นทาง ได้แก่

  1. เส้นทางกรุงเทพฯ-นครสวรรค์-ตาก-ลำปาง-พะเยา-เชียงราย (สายเอเชีย หรือสายเก่า) จากรังสิตมาตามถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1) แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ที่อำเภอวังน้อย จากนั้นผ่านจังหวัดอยุธยา สิงห์บุรี เข้าทางหลวงหมายเลข 1 อีกครั้งที่ จ.ชัยนาท ตรงไป จ.นครสวรรค์ ผ่าน กำแพงเพชร ตาก เข้าสู่ อำเภอเถิน ตรงไปจังหวัดลำปาง ผ่าน อำเภองาว แล้วตรงไปจังหวัดพะเยา จนเข้าสู่เชียงราย รวมระยะทาง 830 กิโลเมตร
  2. เส้นทางกรุงเทพฯ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-เชียงราย (สายใหม่) ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ 1 เมื่อไปถึงจังหวัดนครสวรรค์ ให้แยกขวามือไปตามทางหลวงหมายเลข 117 (นครสวรรค์-พิษณุโลก) จากนั้นใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 11 (พิษณุโลก-เด่นชัย) จากจังหวัดพิษณุโลก ผ่านจังหวัดอุตรดิตถ์ จนถึงอำเภอเด่นชัย ให้เลี้ยวไปทางจังหวัดแพร่ ตามทางหลวงหมายเลข 101 (แพร่-น่าน) จนถึงอำเภอร้องกวาง เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 103 ไปบรรจบกับถนนพหลโยธินที่อำเภองาว เข้าสู่จังหวัดพะเยา แล้วตรงต่อไปจนถึงเชียงราย ระยะทางประมาณ 804 กิโลเมตร
  3. เส้นทากรุงเทพฯ-นครสวรรค์-ลำปาง-เชียงใหม่-เชียงราย ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ 1 จนไปถึงจังหวัดลำปาง จึงเปลี่ยนไปใช้ทางหลวงหมายเลข 11 (ลำปาง-เชียงใหม่) ผ่านไปจังหวัดลำพูน แล้วเข้าสู่จังหวัดเชียงใหม่ แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 118 (เชียงใหม่-เชียงราย) ผ่านดอยสะเก็ต แม่ขะจาน เวียงป่าเป้า เข้าสู่เชียงราย รวมระยะทาง 900 กิโลเมตร มีทางหลวงหมายเลข 11 ผ่านลำพูนมาลำปาง บรรจบกับทางหลวงหมายเลข 1 ผ่าน จ.ตาก จ.นครสวรรค์ เพื่อเดินทางกลับกรุงเทพฯ

การเดินทางรถโดยสารประจำทาง

จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ในภาคเหนือ รองมาจากจังหวัดเชียงใหม่ ในด้านความเจริญทางธุรกิจ และการขนส่งผู้โดยสารในด้านการท่องเที่ยวและบริการ จากสถานีขนส่งสายเหนือ มีรถยนต์โดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศจากกรุงเทพฯ สู่เชียงรายทุกวัน วันละหลายเที่ยว บริษัทที่ให้บริการเดินทางรถประจำทางทั้ง รถปรับอากาศชั้นที่ 1 ชั้น 2 VIP (พิเศษ) และรถโดยสารธรรมดา นอกจากนี้จากสถานีขนส่งเชียงราย สามารถเดินทางไปยังจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทยได้อีกด้วย ซึ่งมีสถานีขนส่งอยู่ด้วยกัน 2 แห่ง ดังต่อไปนี้

  1. สถานีขนส่งแห่งที่ 1 (เทศบาลนครเชียงราย) (เฉพาะระหว่างอำเภอต่างๆ และจังหวัดใกล้เคียง)
  2. สถานีขนส่งแห่งที่ 2 (ท่าตะเคียนคู่) (เฉพาะระหว่างภูมิภาคต่างๆ และกรุงเทพมหานคร)

นอกจากนี้ยังมีรถประจำทางระหว่างจังหวัดที่เดินรถระหว่างเชียงรายไปถึง พะเยา ลำปาง ลำพูน แพร่ เชียงใหม่ น่าน ตาก (แม่สอด) กำแพงเพชร นครสวรรค์ กรุงเทพฯ นครราชสีมา ชลบุรี ระยอง อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก อุดรธานี เลย ขอนแก่น สกลนคร นครพนม ประจวบคีรีขันธ์ (หัวหิน) และภูเก็ต

นอกจากนี้จังหวัดเชียงรายยังมีท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวง เชียงราย เป็นท่าอากาศยานนานาชาติ 1ใน 6 ของบริษัทท่าอากาศยานไทยจำกัด (มหาชน) ที่มีสายการบินใช้บริการระดับต้น ๆ ของประเทศไทย สายการบินที่บินมายังจังหวัดเชียงรายในเที่ยวบินภายในประเทศที่มีการให้บริการ คือ การบินไทย นกแอร์ โอเรียนท์ไทย ไทยแอร์เอเชีย

 

 

 

ศิลปวัฒนธรรม และประเพณี

  • แห่พระแวดเวียง

ประเพณีอัญเชิญพระพุทธรูปแวดเวียงเชียงราย ซึ่งมีพื้นฐานความคิดมาจากตำนานพระเจ้าเลียบโลก ด้วยมีจุดมุ่งหมาย ให้ประชาชนได้มีโอกาสสักการบูชาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ซึ่งประดิษฐานอยู่ตามวัดวาอารามต่าง ๆ ในตัวเมืองเชียงราย เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตในวาระของการส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ โดยการอัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเชียงราย มาประดิษฐานบนบุษบกที่ได้สร้างขึ้นโดยช่างศิลปินที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงราย จัดตั้งเป็นขบวนอัญเชิญไปรอบเมืองเชียงราย ให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสกราบไหว้สักการบูชาด้วย ข้าวตอก ดอกไม้ เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่เป็นสิริมงคลยิ่งนัก

  • ปอยหลวง

งานบุญปอยหลวงเป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนาซึ่งเป็นผลดีต่อสภาพทางสังคมหลายประการ นับตั้งแต่ชาวบ้านได้มาทำบุญร่วมกัน ร่วมกันจัดงานทำให้เกิดความสามัคคีในการทำงาน งานทำบุญปอยหลวงยังเป็นการรวมญาติพี่น้องที่อยู่ต่างถิ่นได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน และมีการสืบทอดประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมาครั้งแต่บรรพชนไม่ให้สูญหายไปจากสังคม ช่วงเวลา จากเดือน 5 จนถึงเดือน 7 เหนือ (ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคมของทุกปี) ระยะเวลาประมาณ 3-7 วัน

  • ป๋าเวณี ปี๋ใหม่เมือง งานประเพณีสงกรานต์

จัดขึ้นประมาณกลางเดือนเมษายน ในงานมีขบวนแห่และสรงน้ำพระเจ้าล้านทอง การแข่งเรือ และการละเล่นพื้นเมืองและมหรสพ จัดบริเวณตัวเมืองเชียงราย และอำเภอเชียงแสน

  • งานเทศกาลลิ้นจี่และของดีเมืองเชียงราย

เทศกาลที่ชาวเกษตรกรต่างนำผลผลิตทางการเกษตรของตนมาออกร้าน โดยเฉพาะลิ้นจี่ที่มีชื่อเสียงมากของเชียงราย จัดขึ้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี ภายในงานมีการประกวดขบวนรถและธิดาลิ้นจี่ และการออกร้าน บริเวณสนามกีฬากลางจังหวัดเชียงราย

  • งานไหว้สาพญามังราย

จัดให้มีพิธีบวงสรวงพญามังราย มีการออกร้าน จัดนิทรรศการของส่วนราชการและเอกชน และงานรื่นเริงอื่น ๆ จัดวันที่ 23 มกราคม-1 กุมภาพันธ์

  • เป็งปุ๊ด

“เป็งปุ๊ด” หรือ “เพ็ญพุธ” เป็นประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนค่อนรุ่งเข้าสู่วันเพ็ญขึ้น15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธ ตามวัฒนธรรมและความเชื่อของบรรพบุรุษล้านนาไทย ที่เชื่อกันว่าพระอุปคุตซึ่งพระอรหันต์องค์หนึ่งแปลงกันยายนป็นสามเณรน้อยมาบิณฑบาตโปรดสัตว์โลกในยามเที่ยงคืน และชาวล้านนาในอดีตเชื่อว่าการทำบุญตักบาตรถวายพระอุปคุตในวันเป็งปุ๊ดก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีบุญ มีโชคลาภและร่ำรวย บังเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต โดยบรรพบุรุษชาวล้านนาเชื่อว่า ทุกคืนที่ย่างเข้าสู่วันพุธขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันเป็งปุ๊ด และจะมีประชาชนชาวล้านนาจำนวนมากมารอเพื่อประกอบพิธีทำบุญตักบาตรพระภิกษุสามเณร

  • งานอนุรักษ์มรดกไทยล้านนา

จัดในเดือนเมษายน มีการจัดนิทรรศการและการแสดงแบบไทยล้านนา มีการสาธิตงานศิลปะ บริเวณหอวัฒนธรรมนิทัศน์ อำเภอเมือง

  • งานประเพณีขึ้นพระธาตุดอยตุง

จัดขึ้นในวันขึ้น 14-15 ค่ำ เดือนหกเหนือ หรือเดือนมีนาคม เป็นประเพณีของชาว ล้านนา รวมทั้งชาวไทยใหญ่ในพม่าที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา โดยชาวบ้านและพระสงฆ์ จะเดินขึ้นพระธาตุในตอนกลางคืน เมื่อมาถึงก็จะพากันนมัสการองค์พระธาตุก่อน จากนั้นจึงหาพื้นที่ประกอบอาหารเพื่อตักบาตรในตอนเช้า หลังจากตักบาตรแล้วจะ ช่วยกันบูรณะบริเวณองค์พระธาตุ เมื่อถึงยามค่ำคืนก็มารวมกันที่ปะรำพิธีเพื่อฟังเทศน

  • ประเพณีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึก

เป็นประเพณีเกี่ยวกับความเชื่อของผู้คนที่อยู่ริมแม่น้ำโขง โดยเฉพาะชาวประมง ในเขตบ้านหาดไคร้ ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ เกี่ยวกับปลาบึกซึ่งเป็นปลาขนาด ใหญ่อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงว่า เป็นปลาศักดิ์สิทธิ์ มีเทพเจ้าคุ้มครอง ก่อนที่ชาวประมง จะจับปลาบึกต้องมีการบวงสรวงก่อน ฤดูกาลจับปลาบึกันยายน่ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม

  • ประเพณีโล้ชิงช้าของชาวอีก้อ

หรือที่เรียกตนเองว่า “อาข่า” มีเชื้อสายจากจีน-ทิเบต เดินทางอพยพมาอยู่บริเวณ ชายแดนไทย-พม่า แถบตอนเหนือของลำน้ำกก โดยเฉพาะอำเภอแม่จัน และแม่สาย การโล้ชิงช้าเป็นการขึ้นไปขอพรและแสดงความรำลึกถึงพระคุณของเทพธิดาแห่ง สรวงสวรรค์ ผู้ประทานความชุ่มชื่นอุดมสมบูรณ์ให้กับพืชพันธุ์ธัญญาหารและ ยังเป็นการเซ่นไหว้บรรพบุรุษอีกด้วย จัดในช่วงเดือนสิงหาคม

 

 


Line

คะแนนโหวต :
starstarstarstarstar
จำนวนการเข้าชม : 77,802